เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[1418] 1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
[1419] 2. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย.
มี 3 วาระ (วาระ 2-3-4) พึงกระทำทั้งปวัตติ
และปฏิสนธิ.
[1420] 5. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 5-6-7)

2. อารัมมณปัจจัย


[1421] 1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณา
กุศลกรรมนั้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู, พิจารณาโวทาน, พิจารณากิเลส
ที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาล
ก่อน.
พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
จักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอารัมมณปัจจัย.
[1422] 2. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย.

คือ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นปริตตธรรม ด้วย
เจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโต-
ปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[1423] 3. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ, อากิญ-
จัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย.
บุคคลรู้จิตตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นมหัคคตธรรม ด้วย
เจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโต
ปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1424] 4. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาปฐมฌาน ฯลฯ พิจารณาเนาสัญญานาสัญญายตนะ.
พิจารณาทิพยจักษุ ทิพโสตธาตุ ฯลฯ พิจารณาอิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ
ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตตัง-
สญาณ.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะ
ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
[1425] 5. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย
[1426] 6. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค, พิจารณาผล,
พิจารณานิพพาน.
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย.
[1427] 7. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

คือ พระอริยะทั้งหลายรูปจิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอัปป-
มาณธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติปัจจัย


[1428] 1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย